White logo

สัญญาณที่ต้องเปลี่ยนกางเกงในแล้ว

ชุดชั้นในขึ้นรา กางเกงในขึ้นรา เกิดจากอะไร? TENO มีคำตอบมาฝาก

ปัญหากางเกงในขึ้นราและชุดชั้นในขึ้นราเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีความชื้นสูงและไม่มีแสงแดดเพียงพอ ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อรา หากไม่ได้รับการดูแลเรื่องการซักและการตากผ้าที่ถูกต้อง เชื้อราอาจขึ้นบนผ้าและก่อให้เกิดปัญหาทั้งต่อสุขอนามัยและการใช้งาน ในบทความนี้ TENO จะพาไปดูถึงสาเหตุที่ทำให้กางเกงในหรือเสื้อในขึ้นรา รวมถึงวิธีชุดชั้นในขึ้นรา กางเกงในขึ้นราวิธีแก้อย่างไร? เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราและยืดอายุการใช้งานของเสื้อในใส่สบายและกางเกงในไร้ขอบ

ไขข้อสงสัย ใส่ชุดชั้นในขึ้นราและกางเกงในขึ้นรา ส่งผลร้ายอะไร

การใส่ชุดชั้นในหรือกางเกงในขึ้นราอาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพและสุขอนามัยได้หลายด้าน เพราะเชื้อราที่เจริญเติบโตบนผ้าสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง เพื่อให้เห็นถึงอันตรายของการสวมชุดชั้นในขึ้นราหรือกางเกงในขึ้นรามากขึ้น บทความนี้ได้รวบรวมปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้จากการสวมใส่ชุดชั้นในหรือกางเกงในไร้ขอบผู้หญิงและผู้ชายที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีหรือขึ้นรามาฝาก

กลิ่นไม่พึงประสงค์

ชุดชั้นในหรือกางเกงในไร้ขอบที่ไม่ได้รับการตากให้แห้งดี ถือเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย หากเราฝืนใส่กางเกงในหรือชุดชั้นในขึ้นราจะทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ตามมา ซึ่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นอาจผลกระทบต่อความมั่นใจ และทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปด้วยความไม่สะดวก

เป็นแหล่งสะสมของเชื้อรา

การใส่กางเกงในที่สกปรกหรือขึ้นราซ้ำ ๆ อาจทำให้บริเวณขาหนีบกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อราได้ เพราะเป็นพื้นที่ที่มีเหงื่อและความชื้นสะสมง่าย ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เชื้อราและแบคทีเรียสามารถเติบโตได้ดีนั่นเอง

มีอาการคัน

แน่นอนว่าการใส่กางเกงในขึ้นราอาจกระตุ้นให้เกิดอาการคันบริเวณขาหนีบได้ ประกอบกับบริเวณขาหนีบถือเป็นจุดสะสมของแบคทีเรีย หากยังฝืนใส่กางเกงในขึ้นราอาจทำให้เกิดปัญหาผิวหนังที่รุนแรงตามมาได้ 

โดยเฉพาะคนที่ทนความคันไม่ได้และเผลอเกาแรง ๆ ก็ทำให้เกิดแผลที่ผิวหนังบอบบางบริเวณอวัยวะเพศ เพราะผิวหนังในบริเวณนี้มีความบอบบางมากกว่าส่วนอื่น ๆ ทั้งทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและการระคายเคืองเพิ่มขึ้นอีกด้วย

เกิดผื่นและสิว

ความชื้นและสิ่งสกปรกที่สะสมในชุดชั้นในสามารถทำให้รูขุมขนอุดตัน เมื่อรูขุมขนอุดตัน น้ำมันและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วจะสะสมอยู่ในรูขุมขน อาจทำให้เกิดการอักเสบหรือการเกิดสิวในบริเวณที่สัมผัสกับเสื้อในขึ้นรา

ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

การใส่กางเกงในที่มีเชื้อราและสิ่งสกปรกบ่อย ๆ อาจทำให้เชื้อราและแบคทีเรียที่สะสมบนกางเกงในเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะ จนนำไปสู่การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (UTI) ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหรือแสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย หรือมีเลือดปนในปัสสาวะ

ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

ผลเสียที่ร้ายแรงที่สุดจากการใส่กางเกงในขึ้นรา คือ การติดเชื้อยีสต์ชนิด Candida albicans ซึ่งอาจทำให้ปลายน้องชายเกิดการอักเสบ มีอาการคัน แดง และบวม ทั้งยังมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เนื่องจากเชื้อราไปทำให้เนื้อเยื่อในบริเวณอวัยวะเพศอ่อนแอ จนเปิดโอกาสให้แบคทีเรียหรือไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น

แชร์วิธีป้องกันชุดชั้นในขึ้นรา กางเกงในขึ้นราที่ทำตามได้สบาย

สำหรับใครที่กังวลเรื่องชุดชั้นในและกางเกงในขึ้นราในช่วงหน้าฝน วันนี้ TENO ขอแนะนำวิธีป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดเชื้อราที่สามารถทำตามได้ง่าย ๆ เพื่อรักษาความสะอาดและสุขอนามัยได้ดี

ไม่สะสมชุดชั้นใน กางเกงในอับชื้น

การไม่สะสมชุดชั้นในหรือกางเกงในที่เปียกชื้นถือเป็นวิธีที่ดีในการลดโอกาสการเกิดเชื้อรา เพราะเชื้อรามักเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นและไม่มีการระบายอากาศที่เพียงพอ การตากหรือผึ่งชุดชั้นในและกางเกงในให้แห้งสนิทก่อนนำไปใส่ในตะกร้าหรือซัก จึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเชื้อรา นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการสะสมของแบคทีเรียและกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่มักเกิดขึ้นจากความชื้นอีกด้วย

ซักชุดชั้นใน กางเกงในทันทีหลังใช้

การซักชุดชั้นในและกางเกงในทันทีหลังใช้จะช่วยลดความชื้นและการสะสมของเหงื่อ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดเชื้อรา นอกจากนี้การใช้ผงซักฟอกที่มีส่วนผสมของสารป้องกันเชื้อราจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาด รวมถึงการซักในน้ำอุ่นสามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคและลดการสะสมของแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ตากให้แห้งสนิทก่อนเก็บเข้าตู้

หลังจากซักชุดชั้นในและกางเกงในเสร็จแล้ว การตากในที่ที่มีแสงแดดและอากาศถ่ายเทดีหรือการใช้เครื่องอบผ้าให้แห้งสนิทเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการป้องกันความชื้นสะสมบนผ้า เนื่องจากความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดเชื้อรา หากชุดชั้นในหรือกางเกงในยังมีความชื้นแม้เพียงเล็กน้อยก่อนเก็บเข้าตู้เสื้อผ้า อาจทำให้เกิดเชื้อราขึ้นได้ ดังนั้น ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าชุดชั้นในแห้งสนิทแล้วทุกครั้งก่อนเก็บเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อราและแบคทีเรีย

ชุดชั้นในขึ้นรา กางเกงในขึ้นรา มีขั้นตอนทำความสะอาดอย่างไร?

หากชุดชั้นในหรือกางเกงในขึ้นราในจำนวนที่ไม่มาก ยังสามารถทำความสะอาดเพื่อกำจัดเชื้อราและป้องกันไม่ให้มันกลับมาอีกได้ โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

แช่ในน้ำผสมน้ำส้มสายชูหรือเบกกิ้งโซดา

การแช่ชุดชั้นในขึ้นราหรือกางเกงในขึ้นราด้วยน้ำส้มสายชูหรือเบกกิ้งโซดาเป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพในการลดเชื้อรา เพราะน้ำส้มสายชูและเบกกิ้งโซดาต่างมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและลดกลิ่นไม่พึงประสงค์เหมือน ๆ กัน

ใช้เกลือและมะนาว

การนำเกลือและมะนาวมาผสมกันแล้วป้ายที่คราบเชื้อราบนเสื้อในหรือกางเกงในทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที เป็นวิธีธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรา โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีที่อาจทำให้เสื้อในหรือกางเกงในเสียหาย

ซักด้วยผงซักฟอกที่มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อ

การเลือกใช้ผงซักฟอกที่มีสารป้องกันเชื้อรา ช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียในระหว่างการซัก ซึ่งช่วยทำให้ชุดชั้นในและกางเกงในสะอาดและปลอดภัยจากเชื้อรา

เลือกชุดชั้นใน กางเกงใน TENO ช่วยลดปัญหาความอับชื้น เชื้อรา

นอกจากการซักและป้องกันชุดชั้นในขึ้นราและกางเกงในขึ้นราที่แนะนำข้างต้น การเลือกสวมใส่เสื้อในและกางเกงในที่มีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดี เช่น เสื้อในใส่สบาย กางเกงในไร้ขอบผู้หญิง และกางเกงในไร้ขอบผู้ชายจากแบรนด์ TENO ซึ่งผลิตจากผ้า Nylon และ Spandex ช่วยลดความชื้นสะสมและการเกิดเชื้อราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการดูดซับและระบายความชื้นออกจากผิวได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การใช้ผลิตภัณฑ์ของ TENO เป็นทางเลือกที่ดีในการลดปัญหาความอับชื้นและเชื้อรา

เห็นได้ชัดว่าชุดชั้นในขึ้นราและกางเกงในขึ้นราเป็นปัญหาที่สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้มากกว่าที่เราคิดไว้ ไม่เพียงกางเกงในและเสื้อในขึ้นราก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ แต่ยังอาจนำไปสู่การติดเชื้อรา การอักเสบ และการระคายเคืองที่ผิวหนังได้ด้วย หากสังเกตเห็นกางเกงในขึ้นราวิธีแก้ไขโดยทันที เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลามหรือเกิดซ้ำในอนาคต

เลือกซื้อชุดชั้นในและกางเกงใหม่ได้แล้ววันนี้ !

See more our blogs

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *